0 slides available for this slider.Error in slider type!

เครื่องมือตรวจสอบเครื่องยนต์

       กรณีไฟรูปเครื่องยนต์โชว์ขึ้นที่หน้าปัดรถยนต์ ระบบของรถยนต์กำลังแสดงให้เราทราบว่า ระบบของรถยนต์เกี่ยวกับ ส่วนเครื่องยนต์ หรือ ระบบเกียร์กำลังมีปัญหา  

 

        หากว่าเราไม่มีเครื่องมือ สแกน OBD ในการตรวจสอบค่าสัญญาณความผิดปกติ  แต่เราได้ทำการตรวจสอบด้วยตนเอง แล้วเจอ จุดผิดปกติ เช่น ปลั๊กเซ็นเซอร์หลุดหลวม  และเราแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว  เราสามารถที่จะ เคลียร์ หรือ ลบไฟเตือนรูปเครื่องยนต์ดังกล่าวด้วยตนเองได้โดยวิธี การถอด ขั้วแบตเตอรี่ ออก ทั้ง ขั้วบวก  และขั้วลบ ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาทีแล้วใส่กลับ ไฟรูปเครื่องยนต์ดังกล่าว จะลบหายไปได้ 

กรณีไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือสแกนระบบ OBD เพื่อตรวจสอบ ปัญหาดังกล่าว

 

       หรือ ในกรณีของ ออกซิเจนเซ็นเซอร์เสีย  ไฟรูปเครื่องยนต์จะไม่โชว์ขึ้นมาที่หน้าปัดรถยนต์  แต่เครื่องยนต์จะมีอาการผิดปกติ  เร่่งไม่ขึ้น  สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาก  อาการนี้เราจะเป็นต้อง ตรวจสอบค่าการทำงานของ ออกซิเจนเซ็นเซอร์โดยใช้เครื่องมือ สแกน OBD 

        เครื่องยนต์รถยนต์นั่งทั่วไป ปกติมีจำนวนกระบอกสูบอยู่ 4 กระบอกสูบ  หากเกิดสูบใด สูบหนึ่ง เกิดวาล์ว ไอดี หรือ ไอเสีย ปิดไม่สนิท อาจเกิดจาก ภาวะวาล์วยัน หรือ สาเหตุอื่น จะทำให้กำลังอัด รั่วซึม ทำให้กำลังอัดต่ำ  เครื่องยนต์เวลาทำงาน จะเดินเบาสั่น  เร่งไม่มีแรง  อัตราเร่งตก  และอาจทำให้เกิดอาการเบาดับได้  ดังนั้นหากเกิดอาการดังกล่าว เราจะใช้เครื่องมือ วัดกำลังอัด ทำการวัด แรงอัดในแต่ละกระบอกสูบ เพื่อเทียบกับค่ามาตรฐาน  หากสูบใด สูบหนึ่ง กำลังอัดต่ำ  แสดงว่า สูบนั้นเกิดภาวะผิดปกติ จำเป็นต้องปรับตั้งวาล์ว หรือแก้ไข ระบบวาล์วของเครื่องยนต์ เพื่อให้กำลังอัด กลับมาปกติเหมือนเดิม 

 

การวัด ก็ทำได้โดยการใช้เครื่องมือวัดกำลังอัดกระบอกสูบ 

 

       กรณีเกิดอาการสตาร์ทติดยาก ปัญหาอาจเกิดจาก ตัวปั้มน้ำมันมีปัญหา ทำให้สร้างแรงดันน้ำมันได้ไม่ดี แรงดันตก ทำให้เกิดอาการสตาร์ทเครื่องยนต์ติดยาก  หรือ ขับน้ำมันแล้ว แรงตก วิ่งไม่ออก อาการส่วนนี้จะมาจาก ปัญหาปั้มน้ำมั้น เสื่อมสภาพ 

ลักษณะของตัวปั้มน้ำมัน 

 

       ปั้มน้ำมันของรถยนต์รุ่นใหม่ จะมีท่อจ่ายน้ำมันไปยัง ห้องเครื่องยนต์แค่เพียงท่อเดียว  ปั้มน้ำมันจะดูดน้ำมันขึั้นมา แล้ว ระบายแรงดันส่วนเกินกลับลงถัง  ส่วนแรงดันใช้งาน ก็จะส่งไปยังตัวเครื่องยนต์ ด้วยท่อน้ำมันเพียงท่อเดียว

ลักษณะของตัวปั้มน้ำมัน

 

      หากปั้มน้ำมันทำงานผิดปกติ เราจะสามารถตรวจสอบได้โดยการวัดแรงดันที่ปั้มน้ำมันสร้างขึั้นมาได้  ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่  หากแรงดันที่ปั้มสร้างขึ้นมาได้ ต่ำกว่ามาตรฐานมาก จะทำให้เกิดอาการ สตาร์ทติดยาก หรือ สตาร์ทติดขึั้นมา แล้ว เร่งไม่ออก เดินเบาสั่นกระพรืออยู่สักระยะได้

ตัวเรือนปั้มน้ำมันจะมีแป้นยึดอยู่กับ ถังน้ำมันใต้เบาะคนนั่งด้านหลัง

 

        อาการ หัวเทียนมีปัญหา  หรือ ปัญหา ท่อร่วมไอดีรั่วซึม ทำให้เครื่องยนต์ แรงตก  เดินเบาสั่น  เราสามารถตรวจสอบได้โดยใช้เครื่องมือ วัดแรงดูดในท่อร่วมไอดี แล้ว เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน   หากค่าที่วัดได้ผิดปกติไป  จะเป็นตัวบอกได้ว่า  ระบบจุดระเบิด   หัวเทียน คอล์ยจุดระเบิด  สายหัวเทียน    มีปัญหา  

     หรือ กรณีเดินเบาสั่น  แอร์จับสั่น  ท่อร่วมไอดี อาจมีการรั่วซึม ส่วนนี้ เราก็จำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัด แรงดูดในท่อร่วมไอดี เปรียบเทียบกับค่า มาตรฐาน เพื่อตรวจสอบว่ามีการรั่วซึม หรือไม่ หากมีรั่ว ก็จำเป็นต้องแก้ไข เพื่อ ปรับปรุงให้เครื่องยนต์กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม 

 

กรณีหัวเทียนมีปัญหา ก็ทำให้ค่าแรงดูดภายในท่อร่วมไอดีผิดปกติไป  

ลิ้นปีกผีเสื้อรั่วซึม ก็มีส่วนทำให้เครื่องยนต์เดินเบาสั่น

 

ยางที่ร่วมไอดีที่ ฉีกขาด ก็ทำให้แรงดูดในท่อร่วมไอดีเปลี่ยนไปได้เหมือนกัน

ท่อร่วมไอดีรั่วซึม ก็มีส่วนทำให้เครื่องยนต์เดินเบาสั่น 

 

ค่าแรงดูดที่ Vaccum gauge บอกเราจะเป็นตัวบอกได้ว่า ระบบท่อไอดี  ลิ้นปีกผีเสื้อ  หรือ ระบบจุดระเบิด ส่วนไหนที่มีปัญหา 

ทำไมรถยนต์รุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องตัดปั้มติก 

      คือ รถยนต์รุ่นเก่า ตัวลดแรงดันน้ำมันเบนซินจะติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องยนต์  แรงดันที่ปั้มน้ำมันส่งมา จะเป็นแรงดันสูงเกินกว่าที่แรงดันใช้งาน ดังนั้นมีโอกาสรั่วซึมได้ง่าย และท่อยางเป็นท่อสายยาง เสริมผ้าใบ  แต่รถยนต์รุ่นใหม่ เป็นท่อพลาสติก  เทปล่อน เหนียว  ไม่กรอบ  ไม่แตกลายงา   แน่นหนา แข็งแรง ทนทาน กว่าท่อน้ำมันแบบเดิมมาก

      ท่อน้ำมันรถยนต์ รุ่นเก่า  ท่อน้ำมันที่เดินจากถังน้ำมันมาที่ ห้องเครื่องยนต์ จะเดินท่อเหล็กมาเลย  จากนั้นจะมาต่อ ด้วย ท่ออ่อน เป็น ท่อยางเสริมผ้าใบ ซึ่งใช้ไปนานๆ และโดนแก๊สโซฮอร์กัดยาง จะทำให้ท่อยาง เปื่อย กรอบ และแตกได้ง่าย 
แต่รถยนต์รุ่นใหม่  ท่อน้ำมันจะเป็นท่อพลาสติก  เทปลอน ผลิตด้วยวัสดุพิเศษ และเมื่อมาถึง ห้องเครื่องยนต์  ก็จะมี ท่อ เทปลอป หุ้มยางเสริมต่อ อีกชั้น ทำให้แข็งแรงทนทานมาก

     และรถยนต์ รุ่นใหม่ จะไม่มี ท่อน้ำมันไหล กลับ เพราะ  ตัว ควบคุมแรงดัน หรือ ตัว regulator  จะถูกย้ายไปไว้ในถังน้ำมัน  ท่อน้ำมัน ที่มายังห้องเครื่องยนต์ จะมีท่อน้ำมันแค่ เพียงเส้นเดียว  เป็นเส้นแรงดันใช้งาน แรงดันไม่สูง  มาแล้วก็ป้อนเข้ารางหัวฉีดเลย  เป็นแรงดันใชงานเลยครับ
 

เครื่องวัดกำลังอัดของเครื่องยนต์

     กรณีรถยนต์ลูกค้ามีอาการเดินเบาสั่น หรือเหมือนเิดินเบาไม่ครบสูบ มีอาการคล้ายอาการเครื่องยนต์วาล์วยัน เราจะมีเครื่องมือ วัดตรวจสอบกำลังอัดของแต่ละสูบ เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องยนต์มีอาการวาล์วยันหรือไม่

เครื่องมือวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง

        กรณีรถยนต์ลูกค้ามีอาการสตาร์ทติดยากตอนเช้า หรือ จอดนานแล้วสตาร์ทติดยากเรามีเครื่องมือ ตรวจสอบแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงเทียบกับค่ามาตรฐาน เพื่อตรวจสอบดูว่า แรงดันน้ำมันอยู่ในระดับปกติหรือไม่

เกจวัดตัวนี้ยังสามารถวัดแรงดูดในท่อร่วมไอดีของเครื่องยนต์ แล้วแจ้งความผิดปกติของเครื่องยนต์ในด้านอื่นได้ด้วย

1. กรณีท่อร่วมไอดี ลิ้นปีกผีเสื้อ มีการรั่วซึม ทำให้ค่าแรงดูดขึ้นสูง

2. กรณีองศาการจุดระเบิดผิดปกติ  หรือ หัวเทียนเสื่อมสภาพทำให้เกิดการจุดระเบิดที่ไม่ดี ค่าแรงดูดที่วัดได้  ก็สามารถบอกได้ถึงความผิดปกติในส่วนนี้ 

 

 

 

ตัวอย่างรถติดตั้งแก๊ส

IMG 08991baner

 

บริการหลังการขาย

เกี่ยวกับเรา

ราคาติดตั้งแก๊ส

 

obd

insurrance

r1-quality

map

400crv

400

Untitled2059

 TV3specialreport

AFwideband