0 slides available for this slider.Error in slider type!

เจาะลึกระบบแก๊ส 2 ทิศทางคืออะไร

จ่ายเข้า ทั้ง รางหัวฉีดทั้งสองด้าน  ทำให้ แรงดันที่รางหัวฉีด นิ่ง  การตอบสนองการขับขี่  จะไกล้ เคียง กับ วิ่งน้ำมันมากขึ้น

เหตุผล

น้ำมันในท่อน้ำมันเบนซิน ที่ปั้มติก  ที่ถัง ส่งมาที่รางหัวฉีด  แรงดันน้ำมันที่จ่ายมา ค่อนข้างนิ่ง ไม่มีการขยับตัว หรือ  เปลี่ยนแปลงแรงดันเลย  น้ำมันเลยทำอัตราเร่งได้ดี ทั้งต้น  ทั้งปลาย


สำหรับ ระบบแก๊ส  lpg   จะมีหม้อต้ม

หม้อต้ม ทำหน้า   เปลี่ยน สถานะของแก๊ส  lpg  จากในถังแก๊ส ที่เป็น ของเหลว  ให้เปลี่ยนเป็นไอ โดยหม้อต้ม

ดังนั้น  หม้อต้ม มีสอง หน้าที่คือ 
1.  ลดแรงดันแก๊ส  จาก ถัง แก๊ส ที่มีแรงดันประมาณ  180 psi. ให้เหลือแรงดัน 21.75 psi หรือ ประมาณ  1.5 bar.
2. เปลี่ยนสถานะของแก๊ส จาก  น้ำแก๊สเป็นไอแก๊ส  ซึ่งต้องใช้ความร้อน
ซึ่งจาก  กระบวนการดังกล่าว  หากเครื่องยนต์ ต้องการ เชือ้เพลิงอย่างเร็ว  อาจทำให้แรงดันในการจ่ายตกลง หรือ  จ่ายไม่พอได้


การเพิ่มปริมาณการจ่าย ดังกล่าว ทำให้มีแก๊ส  สะสมในท่อ  พร้อมสำหรับการใช้งานแบบทันท่วงที  ซึ่งจะทำให้แรงดันนิ่ง  และจะให้อัตราเร่ง ไกล้เคียงกับ ระบบน้ำมันมากขึ้น

จ่ายแก๊สเข้ารางหัวฉีด 2 ทิศทาง เพิ่มความนิ่งของแรงดันแก๊ส

ให้อัตราเร่ง ที่ลื่น ตั้งแต่ ต้น ปลาย เหมือนน้ำมันมากที่สุด 

 

 

หม้อต้ม เปิดช่องทางจ่ายแก๊ส ออก 2 ช่องทาง

 

ติดตั้งไส้กรองไอแก๊ส 2 ตัว

 

ภาพห้องเครื่องยนต์หลังติดตั้ง

 

 

การจ่ายแก๊ส 2 ทาง  ผลดีที่จะเกิดขึ้น  หากใช้เป็นหม้อต้ม magic III gold
1. หัวฉีดแก๊สทั้ง 4 หัว ได้รับปริมาณแก๊ส แรงดันเท่ากันทุกหัว ในทุกย่าน ความเร็ว
2. แรงดันที่ รางหัวฉีด นิ่ง ในทุกย่านความเร็ว
3. การจ่ายแก๊ส สองทางกับ หม้อต้ม magic III gold จะให้อัตราการไหล เพิ่มขึ้น  จากการรองรับแรงม้าได้ ของตัวหม้อต้มเอง

หากใช้เป็น หม้อต้ม ตัวอื่น ที่มีช่องทางการจ่ายเดียว
ข้อดีที่จะได้  คือ  จะเป็น ปริมาณ  แรงดันแก๊ส  ที่หัวฉีด ทุกหัวจะได้ ในย่าน  รอบต้น  และรอบกลาง

แต่ แรงดันของหม้อต้ม ยังคง ตกลง  หรือ  แกว่งขึ้นลง ตาม สภาวะโหลดของเครื่องยนต์    ไม่สามารถเพิ่มอัตราการไหล เพิ่มขึ้นได้ครับ

พี่ goldwing  สะดวกช่วงไหน มาลองทดสอบระบบนี้ได้ครับ

 

ตามทฤษฎี วิชากลศาสตร์ของไหล

การจ่ายแก๊สเข้ารางหัวฉีด แบบทิศทางเดียว ทำให้แก๊สในรางเกิดการไหล แบบ ปั่นป่วน ทำให้หัวฉีดแก๊สทุกหัวให้ แรงดัน และปริมาณ ที่ไม่เท่ากัน 

แต่ ถ้าเป็นการจ่ายแก๊ส แบบ สองทางเข้ารางหัวฉีด  การไหลของแก๊ส ในรางจะเป็นการไหล แบบ ราบเรียบ  สม่ำเสมอ ดังนั้น  การจ่ายแก๊สในแต่ ละหัวฉีด จะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า

ระบบแก๊ส 2 ทาง ให้ อัตราเร่ง ที่ดี  และ ลดการสึกหรอได้เป็นอย่างดี  มั่นใจได้ครับ

 

ถาม

 

monoshock

 

 ผมว่าการไหลแบบสองทางแล้วของไหล ไหลมาชนกันหรือเจอกันตรงกลาง มันไม่ชนกันเองหรือครับ และถ้ามันชนกัน ดูเหมือนว่ามันจะปั่นป่วนไม่น้อย ทำไมถึงคิดว่ามันราบเรียบครับ ค่า reynold number ของทั้ง 2 กรณีเท่าไหร่ครับ

 

ตอบ

 

การไหลของแก๊สในท่อไปยังรางหัวฉีด  ไม่ได้ไหลเป็นท่อโล่งยาวตลอด  แต่ ไหลผ่าน ข้อต่อเซ็นเซอร์ เพื่อวัดแรงดัน ผ่าน ไส้กรองไอแก๊ส  ทำให้การไหล มีต้านทานในท่อเพิ่มขึ้น  สิ่งเหล่านี้ ทำให้ค่า แฟกเตอร์ความเสียดทานในท่อสูงขึ้น เพราะไม่ได้ไหลผ่านท่อแบบโล่งๆ ยาวไปถึงหัวฉีดโดยตรง เพราะต้องมีอุปกรณ์เซ็นเซอร์อื่นไป ขวางทางการไหลอยู่  ทำให้  แรงดัน และ ปริมาตรที่ส่งไปถึงรางหัวฉีด  มีความไม่สม่ำเสมอ  ในบางจังหวะเช่น คาคันเร่ง นิ่งๆ  แบบนี้ ที่รางหัวฉีดได้รับแก๊สเต็มที่ แต่ หาก เร่งๆ หยุดๆ  แบบนี้ ทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอ  ดังนั้นที่รางหัวฉีด  ก็จะเกิดอาการ ปั่นป่วน  ได้รับเชื่้อเพลิง แรงดันแก๊ส ไม่เต็มที่ ส่งผล ถึง ประสิทธิภาพ

http://www.foodnetworksolution.c ... 5%E0%B8%94%E0%B9%8C


ซึ่ง ถ้าเทียบกับระบบน้ำมันเบนซินในรางยิ่งต่างมาก  น้ำมันเป็นของเหลว  ไสกรอง ปั้มติก  ทุกอย่างอยู่ที่ถังน้ำมันทั้งหมด  น้ำมันไหลผ่าน ท่อโล่งๆ  จากถัง  ผ่านปั้ม  มาที่รางน้ำมันที่เดียว  แรงดันสม่ำเสมอ ซึ่งจะต่างกันมาก กับ ไอแก๊ส จากหม้อต้ม ที่จะผ่านมายัง รางได้ จะต้องผ่านอุปกรณ์ ตรวจวัด จำพวก ข้อมาก่อน

 

 

ถาม

 

การที่จะบอกว่าการไหลเป็นแบบไหนนั้น แสดงว่าเราต้องรู้ค่า Reynold ไม่ใช่เหรอครับ และค่านี้มันขึ้นกับ intensive properties ของของไหล ด้วย และหัวฉีดรุ่นนี้มันทำงานที่กีี่ bar และหม้อต้มกี่ bar ครับ

 

ตอบ

การไหลของแก๊สในท่อไปยังรางหัวฉีด  ไม่ได้ไหลเป็นท่อโล่งยาวตลอด  แต่ ไหลผ่าน ข้อต่อเซ็นเซอร์ เพื่อวัดแรงดัน ผ่าน ไส้กรองไอแก๊ส  ทำให้การไหล มีต้านทานในท่อเพิ่มขึ้น  สิ่งเหล่านี้ ทำให้ค่า แฟกเตอร์ความเสียดทานในท่อสูงขึ้น เพราะไม่ได้ไหลผ่านท่อแบบโล่งๆ ยาวไปถึงหัวฉีดโดยตรง เพราะต้องมีอุปกรณ์เซ็นเซอร์อื่นไป ขวางทางการไหลอยู่  ทำให้  แรงดัน และ ปริมาตรที่ส่งไปถึงรางหัวฉีด  มีความไม่สม่ำเสมอ  ในบางจังหวะเช่น คาคันเร่ง นิ่งๆ  แบบนี้ ที่รางหัวฉีดได้รับแก๊สเต็มที่ แต่ หาก เร่งๆ หยุดๆ  แบบนี้ ทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอ  ดังนั้นที่รางหัวฉีด  ก็จะเกิดอาการ ปั่นป่วน  ได้รับเชื่้อเพลิง แรงดันแก๊ส ไม่เต็มที่ ส่งผล ถึง ประสิทธิภาพ

http://www.foodnetworksolution.c ... 5%E0%B8%94%E0%B9%8C


ซึ่ง ถ้าเทียบกับระบบน้ำมันเบนซินในรางยิ่งต่างมาก  น้ำมันเป็นของเหลว  ไสกรอง ปั้มติก  ทุกอย่างอยู่ที่ถังน้ำมันทั้งหมด  น้ำมันไหลผ่าน ท่อโล่งๆ  จากถัง  ผ่านปั้ม  มาที่รางน้ำมันที่เดียว  แรงดันสม่ำเสมอ ซึ่งจะต่างกันมาก กับ ไอแก๊ส จากหม้อต้ม ที่จะผ่านมายัง รางได้ จะต้องผ่านอุปกรณ์ ตรวจวัด จำพวก ข้อมาก่อน

 

 

ถาม

ที่ท่านอธิบายมา ท่านกำลังพูดถึง friction loss และ pressure drop นะครับ ไม่ได้เกี่ยวกับ turbulent หรือ larmina flow แต่ประการใด ถ้าของไหลในสถานะ liquid คือน้ำมัน เปรียบเทียบกับ แก๊ส ซึ่งจริงไม่ใช่ vopor 100% แต่มันเป็น two phase flow ท่านกำลังอธิบายว่าอันไหนแรงดันสูญเสียมันมากกว่ากัน ถ้าจะบอกว่า แก๊ส มี friction loss เยอะกว่า เพราะไหลผ่านข้อลดต่างๆมากมาย มันต้องมานั่งคำนวนกันหน่อย ซึ่งถ้ารู้ค่าแรงดันที่หัวฉีดแก๊สเทียบกับแรงดันน้ำมันที่จ่ายออกที่หัวฉีดเช่นกัน มันถึงจะเทียบกันได้ ว่าอันไหนมันดีกว่ากัน และมันถึงจะสมเหตุสมผล และมันก็ไม่ได้เกี่ยวกับ turbulent flow เลย

 

 

ถาม

น้ำมันจ่ายเชื้อเพลิงที่แรงดันสูงกว่าแก๊ส การเพิ่มอัตราการไหลแบบ สองทาง โดยใช้หม้อต้มใบเดียวถ้าดูเรื่อง friction loss และท่อทางที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มกรองอีก 1 ลูก มันยิ่งน่าจะทำให้ แรงเสียดทานเพิ่มมากขึ้น เพราะลำพังหม้อต้มทำงานที่แรงดัน 1.5 bar กว่าจะส่งแก๊สมาถึงหัวฉีดแก๊สแรงดันที่หัวฉีดแก๊สต้องต่ำกว่า 1.5 bar แน่นๆ ซึ่งถ้าเทียบกับน้ำมัน แรงดันน้ำมันสูงถึง 4.5 bar ทำไมน้ำมันจะไม่ดีกว่าละครับ แต่แก๊สถ้าต่อท่อเพิ่ม ยังไงอัตราการไหลก็เท่าเดิม friction loss น่าจะเยอะขึ้นซิครับ ผมไม่เข้าใจ
ผมให้ดูแรงดันน้ำมันที่หัวฉีดน้ำมัน ว่ามันสูงแค่ไหน ถ้าดูแก๊สต้องดูว่าหัวฉีดแก๊สแรงดันเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ต่อแบบทางเดียวหรือไม่

 

ถาม

 

ช่างลองต่อ pressure gauge วัดเทียบดูซิครับ ว่าต่อแบบทางเดียวกับแบบสองทางแรงดันในรางหัวฉีดเท่าไหร่ มันเพิ่มขึ้นหรือลดลง แล้วผมจะรอดูผลทดสอบนะครับ

 

 

ตอบ

 

อธิบายเพื่อให้เข้าใจแบบง่ายๆ  นะครับ เกี่ยวกับระบบแก๊สแบบหัวฉีดแบบปัจจุบัน ถ้าสังเกตชุดอุปกรณ์ในท้องตลาด แบบฉีดไอแก๊ส หากศึกษาข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับ แรงดันที่ใช้ในการทำงานของระบบแก๊สแบบหัวฉีดไอ ปัจจุบันจะพบว่ามีอยู่ 2 แบบที่เห็นได้ชัดคือ

1. แบบฉีดไอแรงดันต่ำ  คือฉีดไอตั้งแต่แรงดัน  1 bar จนถึงมากสุด ประมาณ 1.6-1.7 bar หรือสูงกว่านี้ ก็ได้ แต่ระบบทำงานได้ไม่ดีมาก ยีห้อทั่วไปในท้องตลาดคือ  EG  ac energy lovata brc autronic หรือยีห้ออื่นๆอีกทั่วไป
2. แบบฉีดไอแรงดันสูง ได้แก่ ยี้ห้อ prins.  ยีห้อนี้ แรงดันในระบบที่จ่ายให้กับหัวฉีด จะอยู่ที่ 2.5 bar - 2.7 bar

แล้ว แรงดันที่แตกต่างกันนี้ มีผลดี  ผลเสียอย่างไร ทำไม ต้องฉีดไอแก๊สที่แรงดันสูง  ฉีดแรงดันต่ำไม่ดีกว่าหรือ

ข้อเสียของระบบแรงดันต่ำคือ
1. หากฉีดแก๊ส ที่สภาวะปกติ ไม่ได้เค้น หรือ ขับแบบกระชากมากนัก หม้อต้มจ่ายได้เพียงพอ  แรงดัน ตกบ้าง  กลับมาปกติบ้าง   สลับกันไป  ถือว่า ขับขี่ ได้  คนขับ อาจจับความรู้สึกไม่ได้ หรือชินกับตัวรถ  หรือ อาจคิดว่า อืดกว่าน้ำมันบ้างเล็กน้อย ถือว่าไม่เป็นไร    เช่น ระบบแก๊ส ที่ แรงดันจ่ายออกจากหม้อต้ม 1 bar ถามว่า หากคนขับ กดคันเร่งมิด เครื่องยนต์กระชากขึ้น ถึงใช้ หม้อต้มที่ดีที่สุด  แต่ตั้งแรงดันไว้ 1 bar แต่ 1 bar ที่หม้อต้ม กว่าจะส่งผ่านไปยัง รางหัวฉีดได้ ต้องผ่าน  ข้อต่อ  ผ่านไส้กรอง  ผ่านข้อต่อ ก่อนเข้าราง  และ ผ่านไปยัง รูหัวฉีด ที่จะจ่ายออกไป  ถึงจุดนั้นในสภาวะกด คันเร่งมิด แรงดันที่ปากรู ก่อนเข้าหัวฉีด แรงดัน อาจอยู่ที่  0.6 bar ก็ได้  โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัด  อ่านค่าแรงดันจากในโปรแกรมจูนได้เลย  แรงดันตกลงแน่นอน   หม้อต้ม เติมแรงดันแก๊สไปที่ รางหัวฉีดไม่ทัน   แรงดันที่อ่านได้จากในโปรแกรม  ตกลงให้เห็นแน่นอน ไปอ่าน ตรวจสอบได้ทุกยีห้อ


ถามว่า ทางแก้ แบบนี้ ทำอย่างไร เรา ก็จะอัดแรงดันที่หม้อต้มให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อรอ ชดเชย ในจัง หวะ กดหนัก หรือคิดดาวน์เอาไว้   แบบว่า  ตกลงมาบ้าง  เช่น ตั้งไว้ที่ 1.5 bar  เวลา กดหนัก ก็อาจตกบ้าง คือลงมาที่ 1.2 bar แต่ อย่างไร ก็ถือว่า แรงดันตก  เพราะไม่ได้ คา คงที่ ไว้ที่ 1.5 bar เหมือนเดิม ถึงจะใช้ หม้อต้มที่ดี ที่สุด แรงดันก็แกว่งให้เห็น

 

ตอบ

 

2.  พอไปตั้งแรงดันให้สูง  ก็เป็นภาระกับหัวฉีดแก๊สอีก เพราะ  พอแรงดันสูง  ในช่วงเวลา การเดินเบาของเครื่องยนต์ มีช่วงเวลาการฉีดที่สั้นอยู่   เช่น 3 ms. หากใช้ หัวฉีด valtek type 30 เจาะรูหัวฉีดดีๆ ออโต้จูน แรงดัน 1.2 bar จะได้ค่า เวลาการฉีดของหัวฉีดแก๊สมา 4.0 ms. แต่ หากว่า อยากให้แรงดันหม้อต้ม สูงๆ เพื่อที่รถจะได้ขับดีๆ  เราเพิ่มแรงดันขึ้นไปอีก เป็น 1.5 bar  เวลาของหัวฉีดแก๊ส ก็ย่อมจะต้อง ต่ำลงมาอีก เช่นเป็น  3.5 ms. ซึ่ง max สุดของหัวฉีด  ที่ ปิด เปิดได้ดี จะยู่ที่ ต่ำสุด 3ms.  ดังนั้น ค่า เวลาที่แคบ ก็เป็น ภาระกับหัวฉีดอีก  ที่เป็นของจำกัด ทำให้เราไม่สามารถใช้แรงดันสูงๆ กับ ทุกชนิดของหัวฉีดแก๊สได้

 

ตอบ

 

ซึ่งจะต่าง กับ ระบบฉีดไอแก๊ส แรงดันสูงของ prins ไปเลย เพราะ prins.  จะใช้วิธีการฉีดไอแรงดันสูง ควบคู่กับ หัวฉีด ประสิทธิภาพสูง อย่าง keihin  เพื่อ ให้ ปิดเปิด การจ่ายแก๊สได้ทัน ในระยะเวลาการฉีดที่สั้น 

เช่น ระบบของ prins แรงดันหม้อต้มอยู่ที่  2.5 bar

เวลาหัวฉีดน้ำมัน เปิดที่   3 ms.

หัวฉีดแก๊ส keihin เปิดฉีดแก๊ส ที่  3ms. ด้วยเช่นกัน ที่ทำเช่นนี้ ได้ เพราะประสิทธิภาพของหัวฉีด keihin ที่ทำได้ หากเป็นหัวฉีด ทั่วไป จะทำแบบนี้ไม่ได้เลย 


ดังนั้นระบบฉีดไอแรงดันต่ำ  ที่ทางผม ดัดแปลงระบบใหม่ เป็น  เพิ่มการจ่ายแก๊ส ออกจากหม้อต้มให้เป็น  2 ทิศทางเพื่อป้อนแรงดันแก๊ส มาสู่ รางหัวฉีดใน 2 ทิศทาง ก็เป็นการแก้ไข ข้อจำกัด ของระบบแรงดันต่ำที่ว่า  หากใช้แรงดันต่ำ ที่ 1.2-1.3 bar แล้ว เวลาอัดหนัก หรือ คิกดาวน์หนัก แล้วแรงดันตกลง  ก็กลายเป็นแรงดันตกน้อยมาก หรือไม่ตกเลย

เพราะอะไร ถึง ไม่ตกมาก หรือ ไม่ตกเลย ก็เพราะกว่า การเพิ่มช่องทางในการไหล ทำให้เหมือนเป็นช่องทางการไหลเพิ่มขึ้น  เพื่อป้อนแก๊ส มายังรางหัวฉีด

ที่ปกติ หัวฉีดทั้ง 4 หัว ต้องรอรับแก๊ส จาก ท่อส่งแก๊ส เพียงเส้นเดียว  ก็จะกลายมาเป็น   หัวฉีดเพียงแค่ 2 หัวรับแก๊ส จะท่อส่งแก๊ส ฝั่งซ้าย  ส่วน หัวฉีดอีก 2 หัว ก็จะรับแก๊ส จากท่อส่งแก๊ส ฝั่งขวา  ทำให้ ปริมาณการป้อน มากพอ ทำให้แรงดันในระบบตกน้อยตามลงมาด้วยครับ

 

ถาม

 

"แต่ตั้งแรงดันไว้ 1 bar แต่ 1 bar ที่หม้อต้ม กว่าจะส่งผ่านไปยัง รางหัวฉีดได้ ต้องผ่าน  ข้อต่อ  ผ่านไส้กรอง  ผ่านข้อต่อ ก่อนเข้าราง  และ ผ่านไปยัง รูหัวฉีด ที่จะจ่ายออกไป  ถึงจุดนั้นในสภาวะกด คันเร่งมิด แรงดันที่ปากรู ก่อนเข้าหัวฉีด แรงดัน อาจอยู่ที่  0.6 bar ก็ได้  " อันนี้เห็นด้วยครับ

 

ถาม

 

"ถามว่า ทางแก้ แบบนี้ ทำอย่างไร เรา ก็จะอัดแรงดันที่หม้อต้มให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อรอ ชดเชย ในจัง หวะ กดหนัก หรือคิดดาวน์เอาไว้   แบบว่า  ตกลงมาบ้าง  เช่น ตั้งไว้ที่ 1.5 bar  เวลา กดหนัก ก็อาจตกบ้าง คือลงมาที่ 1.2 bar แต่ อย่างไร ก็ถือว่า แรงดันตก  เพราะไม่ได้ คา คงที่ ไว้ที่ 1.5 bar เหมือนเดิม " คำว่าอัดแรงดันให้สูงขึ้นไปอีก ทำไงครับ ตั้งหม้อต้มให้สูงขึ้นไปอีกหรือ????

 

 

ถาม

 

แต่ตั้งแรงดันให้สูงขึ้นก็ไม่ได้อีก ดังนั้นระบบฉีดไอแรงดันต่ำ  ที่ทางผม ดัดแปลงระบบใหม่ เป็น  เพิ่มการจ่ายแก๊ส ออกจากหม้อต้มให้เป็น  2 ทิศทางเพื่อป้อนแรงดันแก๊ส มาสู่ รางหัวฉีดใน 2 ทิศทาง ก็เป็นการแก้ไข ข้อจำกัด ของระบบแรงดันต่ำที่ว่า  หากใช้แรงดันต่ำ ที่ 1.2-1.3 bar แล้ว เวลาอัดหนัก หรือ คิกดาวน์หนัก แล้วแรงดันตกลง  ก็กลายเป็นแรงดันตกน้อยมาก หรือไม่ตกเลย ตรงนี้แหละที่ผมไม่เข้าใจ ช่างบอกว่าช่างเพิ่มช่องทางการไหลจาก 1 เป็น 2 ทาง OK ปริมาณแก๊สไหลมากขึ้น เห็นด้วย แต่ แรงดันที่หม้อต้มมันไม่ตกลงหรือ ??? ผมสมมุติตัวเลขเล่นๆ ถ้า แรงดันที่หม้อต้ม 1.6 bar อัตราการไหลออกจากหม้อต้ม 4 cc/s เมื่อไหลไปที่รางหัวฉีดยังไงมันก็ไป 4 cc/s และแรงดันอาจจะตกลงเหลือ 1.2 อยากรู้จังครับว่าการไหล 2 ทิศทางนี้แรงดัน 1.6 มันแก้ไขหรือเปลี่ยนไปอย่างไร มันเพิ่ม flow มากขึ้น ทำไม pressure drop น้อยลง ผมไม่เข้าใจครับ ???

 

 

ถาม

 

รูปข้างบนผมจำลองที่ช่างพูดถึง ว่าช่างกำลังแก้ไขข้อจำกัดของระบบแรงดันต่ำใช่ไหม ครับ รบกวนอธิบายจากรูปด้วยครับ มันเข้าใจกว่า

 

ถาม

 

รบกวนอธิบายและขยายความให้กระจ่างหน่อยครับเกี่ยวกับแรงดันที่ช่างพูดถึง การพยายามแก้ไข ว่าทั้ง 2 ระบบนี้มันเพิ่มแรงดันได้อย่างไร และตรงไหนที่มันเกี่ยวกับ turbulent flow

แบบที่ช่างปรับปรุง


แบบเดิมแบบความดันต่ำ นี่เราพูดถึงระบบความดันต่ำธรรมดาใช่ไหมครับ

 

ถาม

 

รบกวนอธิบายและขยายความให้กระจ่างหน่อยครับเกี่ยวกับแรงดันที่ช่างพูดถึง การพยายามแก้ไข ว่าทั้ง 2 ระบบนี้มันเพิ่มแรงดันได้อย่างไร และตรงไหนที่มันเกี่ยวกับ turbulent flow

แบบที่ช่างปรับปรุง

 

ถาม

อยากรู้ว่าแรงดันที่วงกลมไว้ หลังช่างดัดแปลงแก้ไข มันขึ้นหรือลง รวมทั้งอัตราการไหลด้วย

 

ตอบ

การอัดแรงดันให้สูงขึ้น คือ การปรับตั้งกลไกที่หม้อต้ม เพื่อที่จะให้หม้อต้มจ่ายแรงดันแก๊สให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีกครับ
เช่นจากเดิมแรงดัน 1 bar ปรับตั้งกลไก ใหม่เพื่อให้แรงดันที่จ่ายออกมาสูงเป็น 1.5 bar แทนครับ

 

 

ถาม

ถ้าปรับหม้อต้ม มันก็วนกลับไปข้อ 2 ที่ช่างตอบไว้ไม่ใช่หรือครับ ช่างตอบไม่ตรงคำถามเลย ถ้ารถผมเป็นแบบจ่าย 1 ทาง แล้วช่างบอกว่าถ้าแก้เป็นจ่าย 2 ทาง มันดีกว่า จากรูป ถ้าช่างบอกว่าไปปรับหม้อต้ม ผมสมมุตว่าผมตั้งหม้อต้มไว้ที่ 1.5 bar ทั้ง 2 แบบ และแบบทางเดียวก็ปรับได้ไม่ใช่เหรอครับ ผมสนใจแรงดันที่ปลายหัวฉีดมากกว่าว่าทั้ง 2 แบบมันต่างกันอย่างไง แต่ที่ช่างตอบผมว่ามันไม่ตรงกับคำถามครับ และยังไม่ได้ไขข้อข้องใจเลยนะครับ

 

ตอบ

 

เครื่องยนต์ 4 สูบ 1.500 cc. มีหัวฉีดแก๊ส 4 หัวติดตั้งอยู่  แต่ละหัวมีปริมาณการฉีดแก๊ส 50 cc. ต่อ 1 ms.  สมติที่แรงดัน 1 bar

ที่รอบเดินเบาเครื่องยนต์ทำงานรอบเดินเบาคงที่ 800 rpm.

หัวฉีดแก๊ส เปิดฉีดครั้งละ 4 ms.  1 วัฎจักรการทำงาน หัวฉีดแก๊ส ฉีด สูบ 1-3-4-2  รวม4 ครั้ง รวม 1 วัฏจักร 50cc. x 4ms. 4 ครั้ง =800 cc./ms.    800 cc. เป็นค่า Q

การเทียบอัตราการไหล ระหว่างจุดสองจุด คือ  ระหว่างหม้อต้ม  กับ ที่รางหัวฉีด

Pหม้อต้ม x V(ความเร็วการไหลที่หม้อต้ม)                   =   P รางหัวฉีด x  V (ความเร็วการไหลที่รางหัวฉีด)
...........................................................                   ....................................................................
          Q อัตราการจ่ายที่หม้อต้ม cc.                                        Q อัตราการรับแก๊สที่รางหัวฉีด cc.

สมติที่รอบเดินเบา 800 rpm.

1.0 bar  x   10m/s                                               =      1.bar  x 10 m/s
................................................                                .................................................................
800 cc.                                                                       800 cc.

 

ตอบ

 

ระบบจ่ายแก๊ส แบบทางเดียวเข้ารางหัวฉีด

สมติค่า เมื่อ รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นเป็น 3,000 rpm.


ที่หม้อต้ม                                                                                       ที่รางหัวฉีด
1barx 30 m/s                                                                     1bar  x   30 m/s
.........................                     =                                       ..............................
2,400 cc.                                                                             2,400 cc.
ในความเป็นจริง  ของไหล เมื่อมีการไหลที่เร็วขึ้น  จะเกิดความสูญเสียความดันในท่อทาง ซึ่งปลายทาง แรงดันที่ได้รับจริง จะต่ำกว่า ต้นทาง เสมอ

ผลอาจออกมาเป็น

ที่หม้อต้ม                                                                                     ที่รางหัวฉีด

1.0 bar x 30 m/s                               =                                แรงดันตกลง  0.7 bar x 30 m/s
.......................................                                                  .....................................................
2,400 cc.                                                                                    2,400 cc.

 

 

ถ้าเราแก้ไขระบบใหม่  เพื่อเพิ่มช่องทางการไหลเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเร็วในการไหลลง  เพื่อลดการสูญเสียในระบบ  ทำให้ความเร็วในการไหลลดลง  แต่ ได้ปริมาตร เท่าเดิม Q

ผล อาจออกมาตามรูปแบบนี้ครับ

ที่หม้อต้ม                                         ที่รางหัวฉีด
1.0 bar x 15 m/s         =              แรงดันจะตกน้อยลง 0.9 bar x 15 m/s
.................................                .....................................................
2,400 cc.                                         2,400 cc.

 

ตอบ

 

 


สรุป สำหรับสูตร ระบบการจ่ายแก๊ส แบบ 2 ทางก็คือ   การเพิ่มท่อทางสำหรับจ่ายแก๊ส ออกจากหม้อต้ม มายัง รางหัวฉีดอีก  1 ท่อทาง  หวังผล เพื่อ ลดความเร็วการไหลของแก๊สในท่อลง  เพื่อลดการสูญเสียในระบบ  ทำให้ Q ที่รางหัวฉีด ได้รับเพิ่มขึ้น ในความเร็วการไหลที่เพิ่มขึ้นไม่มาก  ทำให้ แรงดันที่รางหัวฉีด ตกน้อยลง   ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมดีขึ้น

 

 

ตอบ

 

จากภาพ ที่แนบมา

ตัวหม้อต้ม รองรับแรงม้าได้เพียงพออยู่แล้ว สามารถจ่ายแก๊ส Q ได้เพียงพอกับกำลังของเครื่องยนต์อยู่แล้ว

แต่หากว่า เครื่องยนต์ต้องการ ปริมาณแก๊สเพิ่ม Q เพิ่ม อัตราการไหลของแก๊ส จากหม้อต้ม ไปยังรางหัวฉีด ก็ต้องเพิ่มขึ้นด้วย   ตัวที่ทำให้เพิ่มตามไปด้วยคือ ความเร็วในการไหล  ยิ่งความเร็วในการไหลยิ่งสูงขึ้น การสูญเสีย ระหว่างทาง และข้อต่อ  จะทำให้แรงดัน ที่ปลายทาง ตกลง


การเพิ่มท่อทาง จึงเป็นการลดความเร็วในการไหลลง  เพื่อให้ P ที่รางหัวฉีด คงที่มากขึ้น

 

ตอบ

การต่อ จ่าย 2 ทางให้กับ รางหัวฉีด ตามภาพนี้ไม่ได้ผล  เพราะ  V ที่ออกจากหม้อต้ม ยังสูงอยู่ดี ก่อนจะที่จะมีการแยกไป ยังรางหัวฉีด 2 ทาง  เมื่อ  V สูง  ก็ย่อมมีความสูญเสีย สูงตามมา


แต่ แบบที่ผม ทำ ใช้หม้อต้ม ที่เป็นแบบจ่ายแก๊ส  2 ทาง ออกจากห้องแรงดันต่ำของหม้อต้ม โดยตรง   คือ  ห้องแก๊ส ของหม้อต้ม กลายเป็น ส่วนหนึ่ง ของระบบท่อแก๊สไปเลย

ทำให้ V (ความเร็วของแก๊สที่ไหลออกจากหม้อต้ม ไม่ได้สูงตามแต่อย่างใด)

 

 

ถาม

สมการอะไรครับ PV/Q ผมไม่รู้จัก พยายามพลิกตำราหาดูก็ไม่มี ผมอ่าน 4-5 เที่ยวก็อ่านไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ และคำว่า สมการ 2 ข้างมันต้องเท่ากันไม่ใช่หรือครับ แต่ที่ช่างยกตัวอย่างทำไม มันไม่เท่ากัน ระหว่างข้างซ้ายกับขวา แล้วเขาจะเรียกสมการได้ไงครับพี่ และทฤษฎีหรือสมการที่ช่างพยายามจะอธิบาย มันก็ไม่เห็นตอบคำถามที่ถามเลย และผมเพิ่งเข้าใจ เมื่อลองหาอ่านข้อมูลของหม้อต้มรุ่นนี้ ก็ทำไมมันจะไม่ดีกว่าล่ะครับ ยังไงซะหม้อต้ม magic มันก็ตั้งแรงดันได้เต็มที่ 1.6 bar ซึ่งไม่ต่างจากหม้อต้มทั่วไป แต่มันออกแบบให้มีช่องจ่ายแก๊สแบบ 2 ช่องสำหรับรถที่แรงม้าสูงๆ ซึ่งหม้อต้มธรรมดาจะไม่มี ดังนั้นถ้ารถเล็กๆอย่าง city มันก็เหลือเฝือครับ และการเพิ่มช่องทางการจ่ายมันก็คือการเพิ่ม flow อยุู่แล้ว โดยที่ pressure ต้นทางมันคงเดิม เพราะมันออกแบบมาแบบนี้อยู่แล้ว ส่วนตัวผมคิดว่ามันไม่ใช่การค้นพบเทคนิคพิเศษอะไร และมันคนละเรื่องเลยกับทฤษฎีกลศาสตร์ของไหล หรือ thermodynamics
ที่ช่างอธิบาย ส่วนที่ช่างเรียกเทคนิคใหม่ในการติดตั้งแก๊ส ผมก็ไม่คิดว่ามันเป็นเทคนิคใหม่อะไร เพราะหม้อต้ม Magic gold มันมี option ให้เลือกต่อ gas outlet ซึ่งมีทั้งแบบ ทางเดียวกับแบบ 2 ทางอยู่แล้ว คล้ายๆกับหม้อต้มพวก KME ขึ้นอยู่กับ load ว่ามันต้องการปริมาณแค่ไหน ซึ่งแบบ 2 ทางมันรองรับได้ถึง 350-400 Hp แล้วทำไมมันจะไม่วิ่งหล่ะครับในเมื่อ city มันแค่ 120 Hp เอง ตอนแรกผมก็ดีใจ ที่มีคนคิดค้นเทคนิคใหม่ ที่ไม่มีใครเค้าทำกัน เผื่อผมและเพื่อนในคลับจะได้นำมาใช้ประโยชน์ได้บ้าง แต่ถ้าเป็นแบบนี้ แค่ใครพอมีกะตังค์ก็แค่เปลี่ยนหม้อต้มและหัวฉีดก็ใช้ได้แล้ว ใช่ไหมครับ

 

ตอบบ

 

สมการที่ผมยก ตัวอย่างขึ้นมา  เป็น สมการเปรียบเทียบของไหล ที่เป็น ของเหลว หรือ อากาศ ที่ไหลในท่อตามจุดต่างๆ

ของไหลเมื่อไหลในท่อ  ที่มีพื้นที่ขนาดหน้าตัดต่างกัน  เป็นข้องอ  หรือโค้ง   ทำให้เฟกเตอร์ความเสียดทานในท่อเพิ่มขึ้น  ทำให้ความดันของไหล  ความเร็ว  หรือ ปริมาตร การไหลเปลี่ยนไป  สมการของไหล  จึงเป็นการเปรียบเทียบ ตัวแปรต่างๆ  ตามจุดที่ของไหล ไหลผ่าน   หาอ่านได้จาก ตำราวิชา กลศาสตร์ของไหล ระดับปริญญาตรี

ที่ผม ยกตัวอย่างจาก สมการให้เห็น  สิ่งที่จะชี้ให้เห็นคือ   จากระบบการไหลของท่อเดียว  กับ ระบบ 2 ท่อ ไปยังปลายทาง ที่มีจุดหมายเดียวกัน  ระหว่าง  ไหล 1 ท่อ  กับ ไหล 2 ท่อ  การไหล 2 ท่อ ทำให้  ความเร็วในการไหล ลดลง

เมื่อความเร็วลดลง  ก็มีผล ต่อเรื่อง ความดันที่ตกลง น้อยกว่าเดิม เป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เข้าใจง่ายอยู่แล้ว


ทฤษฎีนี้ จะไม่เกิดผลอะไร หากไม่มีอู่ติดตั้งใด  ทำการทดลองติดตั้งให้กับลูกค้า  แล้ว แจ้งกับลูกค้าว่า  มันก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรต่าง  ทำไป ก็ไร้ ประโยชน์  สุดท้าย ก็วิ่งได้เหมือนกัน


แต่ ของเรา ไม่ได้แค่ คำว่า วิ่งได้  แต่เราต้องการ คำว่า วิ่งดี ที่สุด  ดังนั้น ทฤษฎีนี้ เราจึงจำเป็นต้องทดสอบ กับรถตนเอง   เมื่อเราทดสอบ และเห็นผล ว่ามันดีขึ้น   เราก็ทดสอบติดตั้งให้กับ รถลูกค้าทางร้าน   และลูกค้าเก่า ที่ติดตั้งไปแล้ว

 

 

ตอบ

 

 

ลูกค้าใหม่อาจไม่เห็นผล ต่างชัดมาก เพราะติดตั้งเสร็จ ก็วิ่งดีเทียบเท่าน้ำมันเดิม  ไม่มีจุดติ


แต่กับลูกค้าเก่า  ผลทดสอบมันออกมาดี เกือบทั้งหมด จากคันที่ใช้ ระบบทางเดียวมาก่อน  แล้วมาอัพเป็น ระบบ 2 ทาง  ผลการวิ่งดีขึ้นกว่าเดิม แบบเห็นได้ชัด

 

http://www.newaltisclub.com/modu ... ewtopic&t=38400

 

 ตอบ

หรือ คันนี้ เดิมเป็นชุด ER  รางหัวฉีด I-plus  หม้อต้ม tomasetto ฝาดำ 200 hp

ถอดหม้อต้มเดิมออก แล้วติดตั้งใหม่เป็น magic gold  จ่ายแก๊ส 2 ทางเข้ารางหัวฉีด

http://www.newaltisclub.com/modu ... ewtopic&t=39071

 

 

ตอบ

 

ผลการทดสอบจาก กระทู้ด้านบน

http://www.newaltisclub.com/modu ... ewtopic&t=39104

 

ถาม

ต้องขอโทษ ณ ที่นี้ด้วยครับ ถ้าผิดพลาดประการใด และไม่ได้มีเจตนาหรือวัตถุประสงค์อื่นใด ผมเข้ามาโต้ตอบกระทู้นี้เพราะต้องการหาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และสิ่งใหม่ๆกับคนที่คิดว่าว่าเก่งและเชี่ยวชาญด้านแก๊ส แต่ข้อมูลที่ผมได้ มันทำให้ผมรู้สึกผิดหวัง และหมดความกระตือลือล้นที่อยากจะเรียนรู้ เพราะคำตอบหรือสิ่งที่ได้ ไม่สามารถอ้างอิงหลักวิชาการหรือทฤษฎีใดๆ แค่ใช้หลักการและความเห็นส่วนตัว ยิ่งถามกันไปมากมันก็จะไปกันใหญ่ ถ้าการแลกเปลี่ยนมันเป็นได้ข้อมูลนี้ ก็ป่วยการที่จะแลกเปลี่ยนและเสียเวลากับสิ่งที่อยากรู้

 

ถาม

 

เอาเถอะครับ สมการอะไรก็ช่าง ผมไม่อยากรู้แล้ว แต่คนที่เขาเรียนมาทางด้าน กลศาสตรของไหลหรือ Fluid mechanics เขารู้ดีว่าสมการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมันมีอะไรบ้างและมันสำคัญอย่างไร การวิเคราะห์แต่ละอันมันต้องใช้สมการอะไรบ้าง ผมเห็นคุณพูดถึง turbulent /larminar ผมก็นึกว่าคุณรู้และสามารถนำเอา fluid mechanic มาประยุกต์ใช้ในงานติดตั้งแก๊สได้ ผมก็หลงดีใจที่จะได้เจอคนที่รู้จริงซักที แต่จากที่อธิบายมามันคนละเรื่องกันเลย และก็ตอบคำถามเหมือนจะดูดีแต่ไม่มีหลักการเลย สิ่งที่พูดถึงล้วนเป็นหลักการที่ไม่มีทฤษฎีไหน รองรับ ขนาดเขียนสมการยังผิดเลย ท่านอาจจะเชี่ยวชาญงานติดตั้ง แต่ถ้าจะอ้างอิงหลักวิชาการก็ขอให้อ้างอิงให้ถูกต้อง ผู้เรียนรู้จะได้ไม่เข้าใจผิด ตัวอย่างเช่นสมการที่คุณอ้างถึง คุณพูดถึง friction factor แต่สิ่งที่คุณยกมาก็ไม่มี friction factor ในสมการเลย จะว่าเป็น mass equation ก็ไม่ใช่ ผมเรียนมาและสอนลูกศิษย์มาก็หลายรุ่น อ่านตำรา fluid และทำวิจัยมา ก็ไม่เคยพบไม่เคยเจอ เพิ่งจะเจอก็ที่นี่แหละ ครั้งแรก ทฤษฎีใหม่ สมการใหม่ ถ้าเอาหลักวิชาการมาใช้ได้ และถูกต้องมันและอธิบายว่ามันเกี่ยวข้องกับงานของท่านอย่างไร ก็จะเป็นผลดีต่อลูกค้านะครับ ขอยกตัวอย่างสมการที่ท่านควรจะใช้ อันนี้อ้างอิงตำราภาษาไทยครับ ขออนุณาตินำมาให้ดูบางส่วนครับ

 

ตอบ

 

คำตอบของ สมการที่ผมยกให้เห็นด้านบน   ไม่จำเป็นต้องยก หลักทฤษฎี ลึกซึ้งอะไร  บุคคลทั่วไป ก็เข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว


ระหว่าง ของเหลวไหลผ่านท่อ ที่มี ปริมาณการไหลจำนวนหนึ่ง

ระหว่างการไหล จากจุดหนึ่ง ไปอีกจุดหนึ่ง  การใช้ท่อเส้นเดียวในการลำเลียงของเหลว  กับการเพิ่มจำนวนท่อ  จะด้วยเหตุผลใด ก็แล้วแต่  แต่มันทำให้ ความเร็ว  ความแรง ของการไหลเปลี่ยนไป  อาจมีผลทำให้ การจัดเรียงตัว  แรงกระเพื่อมเปลี่ยนไป  ทำให้ เกิด ความดันที่นิ่งขึ้น   กลายเป็นผลดี กับ แรงดันที่ปลายทาง ที่ต้องการ   ความดันและปริมาณของไหล ที่นิ่ง และ ราบเรียบมากที่สุด  เพื่อ ประสิทธิภาพการทำงานให้ดีที่สุด


ผลก็คือ  ระหว่างการไหล ไปท่อเดียว   กับ การเพิ่ม เป็น 2 ท่อ  เพิ่มผลลัพธ์ ที่ดีขึ้น ชัดเจน


การจะไปหา สมการที่ตรง  แล้วใส่ค่าที่ตรง โดยไม่ได้ เอา ขนาดท่อ  ขนาดข้อต่อ มาควณด้วย   ก็ให้ผลลัพธ์ได้ไม่ตรง 


ถ้าคิดลึกมาก   ก็ไม่ได้ สร้างสรรค์สิ่งใด เพิ่มขึ้นมา   

นักคิดค้น  คือ การรู้จักดัดแปลง  ปรับปรุง จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ให้มีรูปแบบเพิ่มขึ้น  เพื่อผลลัพธ์ที่ดี ขึ้นครับ

 

ตอบ

 

เอาผลการใช้งาน จากรถลูกค้าเก่าทางร้านที่เดิมใช้ระบบจ่ายแก๊สทางเดียวมาก่อน  แล้วมาอัพเกรดเป็นระบบจ่ายแก๊ส 2 จ่ายเพิ่มเติมในตอนหลัง  จาก CRV Club

http://www.hondacrvclub.com/2008 ... mp;p=426356#p426356

ส่วนเรื่องสูตร สมการ เดี่ยวให้ทางทีมงานมา อธิบายให้ต่อครับ

แต่ เรื่องค่าในสูตร สมการแจ้งคุณ monoshock  ก่อนนะครับ ค่าบางตัวในสมการของไหล  ถ้าค่าไหน ที่ระหว่างจุดการไหล 2 จุด เป็นค่าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไป  เพราะเป็นการไหลในระยะทางสั้นๆ ทำให้ค่าเรื่องของ

1. อุณหภูมิ  ค่า น้ำหนักจำเพาะของ ของไหล  ค่าคงตัว  หรือ มวลของ ของไหลที่ไหลในท่อระยะสั้นตรงนี้  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ค่านี้ ก็ให้ตัดออกไป เพื่อจะได้เข้าใจได้ง่าย  ในการ บาลานท์ สมการทั้งสองฝั่งได้ง่ายยิ่งขึ้น  เพราะเมื่อค่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ก็คือ ค่าเท่ากัน ก็ให้ตัดออก  เพราะถ้า จะอธิบายให้คนทั่วไป ได้เข้าใจ  แล้วใส่ค่ามาเต็มสูตร แบบนี้  เป็นการสอนกันในชั้นเรียน  ไม่เหมาะสำหรับ อธิบายให้คนทั่วไป ได้เข้าใจครับ

2. ค่าที่เราคิดว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลง คือค่า   ความเร็ว การไหล  ค่าความดัน   ค่า ปริมาณการไหลได้  ค่า แฟกเตอร์ความเสียดทาน  ค่าเหล่านี้เมื่อ ไหลผ่าน  ระหว่าง  ระบบ 1 ทาง  กับ ระบบ 2 ทาง  เรามั่นใจ ว่า ค่าจะต้องมีการเปลี่ยนแน่นอน  เราจะนำค่า เหล่านี้ มา บาลานท์ สมการให้ดูครับ

เดี่ยว  พรุ่งนี้ทางทีมงานมาอธิบายเพิ่มเติมให้ครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างรถติดตั้งแก๊ส

IMG 08991baner

 

บริการหลังการขาย

เกี่ยวกับเรา

ราคาติดตั้งแก๊ส

 

obd

insurrance

r1-quality

map

400crv

400

Untitled2059

 TV3specialreport

AFwideband